บริการของเรา
    บริการตรวจสอบอาคาร
      อาคารที่ต้องตรวจสอบ 9 ประเภท
      บทลงโทษตามกฎหมาย
      ขั่นตอนการดำเนินงานตรวจสอบ
      รายละเอียดการตรวจสอบ
      ทำไมต้องตรวจและประโยชน์ที่ได้
      กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
      หน้าที่ของเจ้าของอาคารตามกฎกระทรวง
    บริการตรวจความปลอดภัยไฟฟ้าโรงงานประจำปี
      แบบฟอร์มไฟฟ้ากรมโรงงานและกรมแรงงาน
    ตรวจด้วยกล้องถ่ายภามความร้อนและวัดค่าความต้านทานดิน
    บริการจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน
    บริการยื่นขอผ่อนผันการจัดการพลังงานประจำปี
    บริการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
    อบรมสร้างจิตสำนึกให้กับพนักงาน
    Link แนะนำ
      iworldshoping
      สภาวิศวกร
      กรมโยธาธิการและฝังเมือง
      สภาสถาปนิก
      กรมโรงงานอุตสาหกรรม
      วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
      สำนักความปลอดภัยแรงงาน
      สมาคมส่งเสริมความปลอดภัย
    ติดต่อบริษัท/ขอใบเสนอราคา
สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 3
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 242
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 388,629
 เปิดเว็บ 19/02/2556
 ปรับปรุงเว็บ 13/07/2567
 สินค้าทั้งหมด 4
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
25 พฤศจิกายน 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
     
10  11  12  13  14  15  16 
17  18  19  20  21  22  23 
24  25  26  27  28  29  30 
             

บริหารอาคารชุด/สำนักงาน /คอนโด/หมู่บ้าน/โรงงาน/พลาซ่า/Tehical Service และรับตรวจสอบอาคารและพลังงาน

 กฏหมายระบบไฟฟ้า
 
กฎกระทรวง
กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน
พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๘ (๓) (๔) (๖) (๗) และ (๘) แห่ง
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
“ระบบไฟฟ้าในโรงงาน” หมายความว่า
(๑) สายไฟฟ้า การเดินสายไฟฟ้า เครื่องยนต์ไฟฟ้า การติดตั้งเครื่องยนต์ไฟฟ้า สวิตช์ไฟฟ้า
อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องไฟฟ้าอื่น
(๒) เครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ สิ่งที่นำมาใช้ในโรงงาน หรือส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบไฟฟ้า
ที่อาจมีไฟฟ้า ประจุไฟฟ้า หรือไฟฟ้าสถิตย์
(๓) ระบบสายดิน (earthing system) ระบบสายต่อฝาก (bonding system) หรือระบบสายป้องกัน
เนื้อโลหะผุกร่อน (electrochemical corrosive system )
(๔) ระบบไฟฟ้าอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
“การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงาน” หมายความว่า การตรวจสอบ การทดสอบ การตรวจทดสอบ
การศึกษาหรือค้นคว้า การวิเคราะห์ การหาข้อมูลหรือสถิติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์หรือเป็นประโยชน์
ประกอบการพิจารณาด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการผลิต การส่งหรือเพื่อส่ง การจ่ายหรือเพื่อจ่าย การใช้
หรือการซ่อมระบบไฟฟ้าในโรงงาน
หน้า ๓๒
เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๓๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐
“การใช้งานระบบไฟฟ้าในโรงงาน” หมายความว่า การนำมาใช้ การเฝ้าตรวจ การดูแล การแก้ไข
ระบบไฟฟ้าในโรงงาน และให้หมายความรวมถึงการติดตั้ง การซ่อม การปรับปรุง หรือการเพิ่มเติม
ระบบไฟฟ้าในโรงงานด้วย
“แบบแปลน” หมายความว่า แบบที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการสร้าง ติดตั้ง ดัดแปลง รื้อถอน
เคลื่อนย้าย ใช้ หรือเปลี่ยนการใช้ระบบไฟฟ้าในโรงงาน โดยแสดงเป็นแผนภาพเส้นเดี่ยว (single line
diagram) ที่มีรายละเอียดตำแหน่งของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ตู้สวิตช์ประธาน (main distribution board)
ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้ากำลังย่อย และขนาดสายไฟฟ้าของวงจรอย่างชัดเจนพอที่จะใช้ในการดำเนินการได้
ตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
“ผู้ประกอบกิจการโรงงาน” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการโรงงานทุกจำพวกและทุกประเภท
หรือชนิดของโรงงานที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
โรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ เว้นแต่กฎกระทรวงนี้จะกำหนดเป็นอย่างอื่น
“วิศวกร” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
วิศวกรรมควบคุมสาขาไฟฟ้าตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
ข้อ ๒ ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่สองและผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่สาม
ต้องมีแบบแปลนที่แสดงการติดตั้งระบบไฟฟ้าในโรงงานตามความเป็นจริง (as-built drawing) และรายการ
ประกอบแบบแปลน โดยในแบบแปลนนั้นต้องมีคำรับรองของวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าในโรงงานมีการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจาก
แบบแปลนตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องดำเนินการแก้ไขแบบแปลนดังกล่าว ให้ถูกต้อง
ตลอดเวลา โดยในแบบแปลนนั้นต้องมีคำรับรองของวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ และส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบไฟฟ้า
ในโรงงานที่มีลักษณะและคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือมาตรฐานอื่นที่ยอมรับกัน โดยมีคำรับรองของวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรี
กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๔ การใช้งานระบบไฟฟ้าในโรงงาน ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องดำเนินการให้เป็นไป
ตามหลักวิชาการหรือมาตรฐานที่ยอมรับกัน หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หน้า ๓๓
เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๓๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐
ข้อ ๕ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรอง
ความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานเป็นประจำทุกปีโดยวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยการตรวจสอบและรับรองดังกล่าวต้องจัดให้มีเอกสารเป็นหลักฐาน
การจัดให้มีเอกสารตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีที่มีเหตุอันควร รัฐมนตรีจะประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ
ตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานตามวรรคหนึ่งก็ได้
การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงาน
ที่จัดอยู่ในประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารให้เป็นไป
ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ได้จัดให้มีผู้ตรวจสอบนั้นได้ดำเนินการ
ตามวรรคหนึ่งแล้ว
ข้อ ๖ ผู้ประกอบกิจการโรงงานตามประเภทหรือชนิดของโรงงานในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้
ต้องจัดให้มีบุคลากรประจำโรงงาน
คุณสมบัติ จำนวน และหน้าที่ของบุคลากรประจำโรงงาน รวมทั้งการส่งรายชื่อบุคลากร
ประจำโรงงานให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรี
กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
บุคลากรประจำโรงงานตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงคนงานและวิศวกรที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า
ในโรงงาน
ข้อ ๗ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดเก็บและรักษาแบบแปลนตามข้อ ๒ และเอกสาร
ตามข้อ ๕ หรือเอกสารใดตามกฎกระทรวงนี้ไว้เป็นเอกสารประจำโรงงาน เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
ของพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๘ ภายในสามปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ มิให้นำความในข้อ ๒ มาใช้บังคับ
กับโรงงานที่ได้รับใบรับแจ้งหรือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
บัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๐
กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องจัดให้มีบุคลากรประจำโรงงาน
รายการที่ ลำดับที่ ประเภทหรือชนิดของโรงงาน
๑ ๗ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการสกัดน้ำมันจากพืช หรือสัตว์ หรือไขมันจากสัตว์
เฉพาะที่ใช้สารทำละลาย (solvents) ในการสกัด
๒ ๗ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการทำน้ำมันจากพืช หรือสัตว์ หรือไขมันจากสัตว์
ให้บริสุทธิ์ เฉพาะที่ใช้สารทำละลาย (solvents) ในกระบวนการผลิต
๓ ๑๖ โรงงานต้ม กลั่น หรือผสมสุรา
๔ ๑๗ โรงงานผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งมิใช่เอทิลแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากกากซัลไฟต์ในการทำ
เยื่อกระดาษ
๕ ๒๘ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการตัดหรือเย็บเครื่องนุ่งห่ม เข็มขัด ผ้าเช็ดหน้า
ผ้าพันคอ เนกไท หูกระต่าย ปลอกแขน ถุงมือ ถุงเท้า จากผ้า หนังสัตว์ ขนสัตว์
หรือวัสดุอื่น
๖ ๓๗ โรงงานทำเครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งภายในอาคารจากไม้ แก้ว ยาง หรือ
โลหะอื่น ซึ่งมิใช่เครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งภายในอาคารจากพลาสติกอัด
เข้ารูป และรวมถึงชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
๗ ๔๒ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมีซึ่งมิใช่ปุ๋ย อย่างใด
อย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
(๑) การทำเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมี
(๒) การเก็บรักษา ลำเลียง แยก คัดเลือก หรือแบ่งบรรจุเฉพาะเคมีภัณฑ์
อันตราย
๘ ๔๓ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์
(pesticides) หรือปุ๋ย ยกเว้นปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ หรือสารฮอร์โมนพืช
อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
(๑) การทำปุ๋ย หรือสารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์
(๒) การเก็บรักษาหรือแบ่งบรรจุปุ๋ย หรือสารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์
๙ ๔๔ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตยางเรซินสังเคราะห์ ยางอีลาสโตเมอร์
พลาสติก หรือเส้นใยสังเคราะห์ซึ่งมิใช่ใยแก้ว
๑๐ ๔๕ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสี (paints) น้ำมันชักเงา เชลแล็ก แล็กเกอร์ หรือ
ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ยาหรืออุด อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ยกเว้นที่ใช้น้ำ
เป็นตัวทำละลาย (solvents) ดังต่อไปนี้
รายการที่ ลำดับที่ ประเภทหรือชนิดของโรงงาน
(๑) การทำสีสำหรับใช้ทา พ่น หรือเคลือบ
(๒) การทำน้ำมันชักเงา น้ำมันผสมสี หรือน้ำยาล้างสี
(๓) การทำเชลแล็ก แล็กเกอร์ หรือผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ยาหรืออุด
๑๑ ๔๘ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการทำไม้ขีดไฟ วัตถุระเบิด หรือดอกไม้เพลิง
๑๒ ๔๙ โรงงานกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
๑๓ ๕๐ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ถ่านหิน หรือ
ลิกไนต์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
(๑) การทำแอสฟัลต์ หรือน้ำมันดิบ
(๒) การทำกระดาษอาบแอสฟัลต์ หรือน้ำมันดิบ
(๓) การทำเชื้อเพลิงก้อนหรือเชื้อเพลิงสำเร็จรูป จากถ่านหินหรือ
ลิกไนต์ที่แต่งแล้ว
(๔) การผสมผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมเข้าด้วยกันหรือการผสม
ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมกับวัสดุอื่น
(๕) การกลั่นถ่านหินในเตาโค้ก ซึ่งไม่เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตก๊าซ
หรือเหล็ก
๑๔ ๕๓ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พลาสติก อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่าง ดังต่อไปนี้
(๑) การทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเรือน หรือเครื่องประดับ
และรวมถึงชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
(๒) การทำเสื่อหรือพรม
(๓) การทำเปลือกหุ้มไส้กรอก
(๔) การทำภาชนะบรรจุ เช่น ถุงหรือกระสอบ
(๕) การทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ท่อ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือ
รูปทรงต่างๆ
(๖) การทำผลิตภัณฑ์สำหรับใช้เป็นฉนวน
(๗) การทำรองเท้า หรือชิ้นส่วนของรองเท้า
(๘) การอัดพลาสติกหลายๆ ชั้นเป็นแผ่น
(๙) การล้าง บด หรือย่อยพลาสติก
รายการที่ ลำดับที่ ประเภทหรือชนิดของโรงงาน
๑๕ ๘๙ โรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ ส่งหรือจำหน่ายก๊าซ
 
โรงงานบรรจุก๊าซ
โรงงานผลิต ซ่อมแซม ดัดแปลง หรือเปลี่ยนลักษณะอาวุธปืน เครื่อง
กระสุนปืน วัตถุระเบิด อาวุธหรือสิ่งอื่นใดที่มีอำนาจในการประหาร ทำลาย
หรือทำให้หมดสมรรถภาพในทำนองเดียวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน
หรือวัตถุระเบิด และรวมถึงสิ่งประกอบของสิ่งดังกล่าว
๑๘ ๑๐๐ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการทา พ่น หรือเคลือบสี
๑๙ ๑๐๐ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการทา พ่น หรือเคลือบเชลแล็ก แล็กเกอร์
หรือน้ำมันเคลือบเงาอื่น
๒๐ ๑๐๖ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้ว
หรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่าน
กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม
หมายเหตุ ลำดับที่ หมายถึง ลำดับที่ของโรงงานจำพวกที่ ๑ โรงงานจำพวกที่ ๒ หรือ
โรงงานจำพวกที่ ๓ แล้วแต่กรณี ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายกฎกระทรวง
(พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
หน้า ๓๔
เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๓๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากข้อ ๖ (๑๑) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒
(พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรการ
ความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงานยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สมควรกำหนดมาตรการ
ความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงานเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานเสียใหม่
และโดยที่มาตรา ๘ (๓) (๔) (๖) (๗) และ (๘) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ บัญญัติให้รัฐมนตรี
มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคนงานประจำโรงงาน การจัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใด
เพื่อป้องกันอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในโรงงาน การจัดให้มีเอกสารที่จำเป็นประจำโรงงาน
การกำหนดข้อมูลที่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบ และการอื่นใดเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงานเพื่อป้องกัน
อันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

Copyright by eandb.co.th
 
 
Engine by MAKEWEBEASY